หลังมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือ Loan to Value : LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน ปี 2562
และชะลอตัวลงโดยเฉพาะหลังจากมาตรการบังคับใช้ล่าสุดทางธปท.จึงปรับเกณฑ์มาตรการ LTV จึงปรับเกณฑ์มาตรการที่เอื้อต่อการกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดมากขึ้น
มาตรการ LTV ปรับเกณฑ์เรื่อง “กู้ร่วม” ที่มีการอัพเดททางธปท.พิจารณาผ่อนปรนการนับสัญญา
กรณีกู้ร่วมโดยถ้าผู้กู้ไม่มีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์จะผ่อนปรนเสมือนยังไม่เป็นผู้กู้ในครั้งนั้นเนื่องจากไม่ได้
มีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยเพียงแค่ช่วยเหลือกันภายในครอบครัว โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีที่มีการกู้ร่วมจะให้นับสัญญาการกู้ร่วมอย่างไร กรณีที่มีการกู้ร่วมจะนับสัญญาอย่างไรนั้น
ขอยกตัวอย่างดังนี้ กรณีที่ 1 : ผู้กู้ A มีสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว 1 สัญญาและใน
ครั้งนี้มาขอกู้ร่วมกับ B ซึ่ง B ยังไม่เคยกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาก่อน
กรณีที่ 2 : ผู้กู้ A และ B กู้ร่วมมาก่อนและในครั้งนี้ B มาขอกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
หลักการนับสัญญาสำหรับการกู้ร่วมให้นับสัญญาตามผู้กู้ที่มีกรรมสิทธิ์บนที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลัก
กล่าวคือ ในกรณีที่ 1 : หากทั้ง A และ B มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยสำหรับการกู้ร่วมให้นับ
สัญญาการกู้ร่วมดังกล่าวเป็นสัญญาที่สัญญาการกู้ร่วมในครั้งนี้ เป็นสัญญาแรกของ B และไม่นับเป็นสัญญาที่ 2 ของ A
ในกรณีที่ 2: ในการกู้ร่วมครั้งแรก หาก A มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแต่เพียงผู้เดียว จะนับสัญญาที่กู้ร่วมเป็นสัญญาแรกของ A
โดยไม่นับเป็นสัญญาแรกของ B ดังนั้น ในการกู้เดี่ยวของ B ในครั้งนี้ จะนับเป็นสัญญาแรกของ B แต่หากในการกู้ร่วมครั้งแรก B
มีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่อยู่อาศัยดังกล่าวด้วย ก็จะนับสัญญาการกู้เดี่ยวของ B ในครั้งนี้ เป็นสัญญาที่ 2
หากใครที่กำลังมองหา บ้านทาวน์โฮม พร้อมอยู่ และอาคารพาณิชย์ ทำเลติดถนนใหญ่
สามารถดูโครงการบ้าน ได้เลยที่นี่ >> https://aileen.in.th/detail/